จิตวิทยาแนวพุทธคืออะไร

Picture of Pim Phappim

Pim Phappim

ศาสนาพุทธกับจิตวิทยา (Buddhism and Psychology) นั้นเป็นศาสตร์ที่มีความเหลื่อมล้ำกันทั้งในทางทฤษฎีและการปฏิบัติในช่วงหลัก 100 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันมีการใช้หลักปฏิบัติทางพุทธศาสนาอย่างยอดนิยมในทั่วโลกโดยมีจุดประสงค์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา

 

นักจิตวิทยาคลินิกชาวตะวันตก นักทฤษฎี และนักวิจัยได้รวมหลักปฏิบัติของพุทธศาสนาในการทำจิตบำบัดด้วยเช่นกัน เช่น การฝึกสติ ซึ่งเป็นเทคนิคการรักษาทางจิตทั้งทางตรงและทางอ้อมๆ ตัวอย่างเช่นการทำจิตบำบัดที่อาศัยการเปลี่ยนความคิด (Cognitive Restructuring) ซึ่งมีหลักคล้ายคลึงกันกับการกำจัดความทุกข์ในศาสนาพุทธ

 

ในปี 2504 นักปรัชญาและศาสตราจารย์ แอลัน วัตส(Alan Watts) ได้กล่าวไว้ว่า

ถ้าเราพินิจพิจารณาอย่างละเอียดถึงการใช้ชีวิตแบบพุทธศาสนา, ลัทธิเต๋า, ลัทธิเวทานตะ(Vedanta) และโยคะ เราจะไม่พบทั้งปรัชญาหรือศาสนาดังที่เข้าใจในโลกตะวันตก เราจะพบอะไรที่เกือบเสมือนกับการทำจิตบำบัด ทั้งยังมีความคล้ายคลึงแบบผสมผสานระหว่างวิถีทางโลกตะวันออกกับการทำจิตบำบัดในแนวของโลกตะวันตก จุดมุ่งหมายของทั้งสองก็เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางจิต เปลี่ยนแปลงความรู้สึกเกี่ยวกับชีวิตของเราเอง และความสัมพันธ์ของเรากับสังคมมนุษย์และธรรมชาติ นักจิตบำบัดส่วนมากมุ่งเน้นให้ความสนใจต่อการเปลี่ยนแปลงจิตใจของบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิต แต่ว่าการฝึกฝนของพุทธศาสนาและลัทธิเต๋า เป็นการพัฒนาจิตใจของบุคคลที่ยังคงสามารถปรับตัวเข้าสังคมได้

หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ได้พิจารณากระแสความเป็นไปของจิตทั้งในกระแสชีวิตที่เป็นทุกข์ สาเหตุที่ทำให้ชีวิตเป็นทุกข์ ความเป็นไปได้ของการดับทุกข์ และวิธีการดำเนินชีวิตไปสู่การดับทุกข์ กระแสจิตหรือภาวะจิตที่พระองค์ทรงค้นพบนั้น ถือได้ว่าเป็นเนื้อหาสาระสำคัญของศาสตร์ที่เรียกว่าพุทธจิตวิทยา เพราะเป็นการศึกษาเรื่องจิตโดยตรง โดยมีจุดเน้นให้ผู้ศึกษา เฝ้ามองพิจารณาและวิเคราะห์จนรู้ทันสภาวะจิตด้วยตนเอง เพื่อจะได้ขจัดทุกข์ทางใจได้สิ้นเชิง มีภาวะจิตที่เป็นอิสระ ถึงความสุขที่สมบูรณ์ เป้าหมายของพุทธจิตวิทยาอยู่ที่การฝึกกระแสจิตเพื่อดับทุกข์ ดังพระดำรัสของพระพุทธองค์ที่ตรัสไว้ในอลคัทปมสูตรว่า

“ภิกษุทั้งหลาย 

ในกาลก่อนก็ตาม ในบัดนี้ก็ตาม 

เราบัญญัติสอนแต่เรื่องความทุกข์

และความดับสนิทไม่เหลือของความดับทุกข์เท่านั้น ” 

ม.ม. (ไทย) ๑๒/๒๗๘ /๒๘๖.

แนวคิดเรื่องพุทธจิตวิทยาจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับจิตและกระบวนการทำงานของจิต พระพุทธศาสนาถือว่าจิตนั้นมีพลังในการควบคุมกาย แต่ถึงอย่างนั้นจิตก็ไม่ได้เป็นเอกเทศจากกาย เพราะจิตกับกายจะต้องทำงานแบบอิงอาศัยซึ่งกันและกัน ในแง่อภิธรรมจิตมนุษย์หรือสัตว์มีความละเอียดอ่อน จึงสามารถจำแนกประเภทได้อย่างหลากหลาย เมื่อนำแนวคิดเรื่องพุทธจิตวิทยามาวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบกับแนวคิดเรื่องจิตวิทยาตะวันตกก็จะพบว่า จิตวิทยาตะวันตกศึกษาจิตและกระบวนการทำงานของจิตในแง่ของพฤติกรรมภายนอก ด้วยการพิสูจน์ทดลองโดยหลักวิทยาศาสตร์ แต่พุทธจิตวิทยานั้นศึกษาจิตและกระบวนการทำงานของจิตในแง่ของการปฏิบัติเพื่อฝึกฝนจิตด้วยการปฏิบัติธรรมทั้งในด้านสมถะและวิปัสสนากรรมฐานโดยมุ่งทำให้จิตมีศักยภาพที่จะสามารถเอาชนะหรือควบคุมกิเลสได้

 

เมื่อวิเคราะห์แนวคิดเรื่องพุทธจิตวิทยาในพระไตรปิฎกพบว่า แนวคิดเรื่องจิตในทางพระพุทธศาสนานั้นสามารถที่จะนำไปปรับประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตและสังคมได้หลายประการ ทั้งในเรื่องของการเรียนรู้ การเรียนการสอน การพัฒนาตนเอง และการแก้ไขปัญหาเรื่องความทุกข์ด้วยการให้คำปรึกษาเชิงพุทธ ซึ่งเป็นหลักการที่พระพุทธองค์ทรงนำไปใช้ได้ผลมาแล้ว – พระครูปลัดมารุต วรมงฺคโล, ผศ.ดร. (2556)

 

สาขาพุทธจิตวิทยากับการศึกษาในปัจจุบัน (เน้นการประยุกต์)
1. พุทธจิตวิทยาการศึกษา เน้นพุทธศึกษา (Cognitive Education) จริยศึกษา (Moral Education) พลศึกษา (Physical Education) พุทธศิลป์ (Buddhist Art Education)
2. พุทธจิตวิทยาสังคม บทบาทในพฤติกรรมทางจิตที่แสดงออกในสังคมและปฏิกริยาทางสังคม
3. พุทธจิตวิทยาอนัตตา ศึกษาสามัญลักษณะของธรรมชาติ และจิตที่เป็นสังขตธรรมและอสังขตธรรม
4. พุทธจิตวิทยาประยุกต์ การนําพระพุทธศาสนาไปสอนตามสภาวะและสิ่งแวดล้อม พุทธจิตวิทยาบําบัด / พุทธจิตวิทยาวิเคราะห์ การนําหลักสมาธิและวิปัสสนาไปบําบัดผู้ป่วย ๕. พุทธจิตวิทยาปรากฏการณ์ ศึกษาปรากฏการณ์ที่เกิดจากการปฏิบัติที่รู้เห็นด้วยตนเอง (จิตวิทยาพระนิพพาน)
5. พุทธจิตวิทยาปรากฏการณ์ ศึกษาปรากฏการณ์ที่เกิดจากการปฏิบัติที่รู้เห็นด้วยตนเอง (จิตวิทยาพระนิพพาน)
6. พุทธจิตวิทยาการปรึกษา การนําหลักธรรมไปให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยในโรงพยาบาล ในลักษณะผู้ป่วยข้างเตียง (คิลานธรรม) ด้วยการปลอบโยน หรือการเจริญอานาปานสติตามหลักการให้คําปรึกษา

 

ประโยชช์ของการศึกษาพุทธจิตวิทยา

จุดเด่นของพระพุทธศาสนาที่เป็นที่สนใจของผู้ศึกษา คือพระพุทธศาสนาเน้นหนักในการศึกษาเรื่องจิตมาก และพุทธจิตวิทยาก็เน้นไปที่การศึกษาเรื่องจิต ซึ่งเมื่อศึกษาก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี้

1. ทำให้เข้าใจชัดเจนถึงกระบวนการทำงานของจิตและธรรมชาติ และเหตุปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวสภาวะแฝงของจิต

2 สามารถควบคุมความทุกข์และสร้างเหตุปัจจัยใหม่เพื่อจะช่วยขจัดภาวะแฝงที่ทำให้เกิดทุกข์นั้นๆ หมดไป

3. สามารถปลดเปลื้องทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจได้สิ้นเชิง บรรลุถึงความสุขสมบูรณ์ของชีวิต และเข้าถึงความสงบของจิตใจได้อย่างแท้จริง

ที่มา :

บทความที่เกี่ยวข้อง :

Share this recipe:

Tags :

คอร์สของผู้เขียนและที่เกี่ยวข้อง